ชื่อเรื่อง แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง
ผู้วิจัย นายรัฐวัฒ นุธรรม
บทคัดย่อ
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตกรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง 2) เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ครูศูนย์การเรียนชุมชน ครูผู้สอนคนพิการ ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มที่ 2 อาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน จำนวน 60 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และกลุ่มเป้าหมายสำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 7 คน รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และวิจัยเชิงประเมิน โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 70 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กรณีศึกษาอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปง สำหรับยุวกาชาดนอกโรงเรียน สำหรับนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
( ผู้เข้าชม : 210 คน)
( ผู้เข้าชม : 207 คน)
( ผู้เข้าชม : 207 คน)