ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา






ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา : อาณาเขต

                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอปง             จังหวัดพะเยา         

                   ทิศใต้             ติดต่อกับอำเภอสอง            จังหวัดแพร่

                   ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอบ้านหลวง    จังหวัดน่าน

                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้    จังหวัดพะเยา

สภาพทางภูมิศาสตร์

                 อำเภอเชียงม่วน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพะเยา ที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน ตั้งอยู่
ในเขตพื้นที่บ้านป่าซางคำ หมู่ที่ ๑๐ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดพะเยา ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ (พะเยา-น่าน) ระยะทาง ๑๒๕.๓ กิโลเมตรใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ       ๑ ชั่วโมง ๔๕ นาที

ภูมิประเทศของอำเภอเชียงม่วน  เป็นที่ราบสูงระหว่างภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและ  ป่าไม้ มีที่ราบสองฝั่งแม่น้ำยมและน้ำปี้  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (MSL) ๓๐๐เมตร อำเภอเชียงม่วน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  ๗๒๒,๘๕๙  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๕๑,๗๘๖ ไร่

 สภาพภูมิอากาศ

                   อำเภอเชียงม่วนมีสภาพดินฟ้าอากาศคล้ายอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดพะเยา แบ่งออก ๓ ฤดู

                   ฤดูร้อน           ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม  ถึง  เดือนพฤษภาคม

                   ฤดูฝน             ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง  เดือนตุลาคม

                   ฤดูหนาว          ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

             สภาพของชุมชน: อำเภอเชียงม่วน เดิมมีฐานะเป็นตำบล ชื่อ ตำบลเชียงม่วน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านม่วง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปง จังหวัดพะเยา) จังหวัดน่าน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ทางราชการได้โอนเขตการปกครองของอำเภอปง              จังหวัดน่าน ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย  อำเภอเชียงม่วน” ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นตำบลเชียงม่วน จึงอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปง จังหวัดเชียงราย และเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๒ ได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งท้องที่อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงม่วน อยู่ในเขตการปกครองอำเภอปง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๑๗  ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ “กิ่งอำเภอเชียงม่วน  ขึ้นเป็นอำเภอเชียงม่วน” อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา เมื่อ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้แยกอำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย ตั้งจังหวัดพะเยา ดังนั้น อำเภอเชียงม่วนจึงอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพะเยาจนถึงปัจจุบัน

 ประชากร ประกอบด้วยประชากร ๓ กลุ่ม คือ

1.กลุ่มคนเมือง  มีขนบธรรมเนียมแบบล้านนา มีทุกหมู่บ้านในอำเภอเชียงม่วน

2.กลุ่มคนไทลื้อ  มีขนบธรรมเนียมแบบสิบสองปันนา  อาศัยอยู่บ้านท่าฟ้าเหนือ บ้านท่าฟ้าใต้บ้านฟ้าสีทอง บ้านฟ้าใหม่              บ้านหล่าย บ้านทุ่งมอก  บ้านทุ่งเจริญ บ้านป่าแขม บ้านแพทย์ และบ้านมางบางส่วน

3.กลุ่มชาวเขาเผ่าเย้า นับถือผี เชื่อเรื่องโชคชะตา อาศัยอยู่บ้านบ่อต้นสัก บ้านนาบัว  บ้านห้วยก้างปลา ประชากรส่วน                ใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก

ด้านการสาธารณูปโภคการสื่อสารและโทรคมนาคม

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ๑   แห่ง

ที่ทำการไปรษณีย์       ๑  แห่ง

สภาพทางเศรษฐกิจ

รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ ๑๙,๕๘๔ บาทต่อคนต่อปี (พ.ศ. ๒๕๕61) อาชีพหลักคือการเกษตรกรรมพืชที่ปลูกคือ ข้าวนาปีข้าวโพดข้าวฟ่างถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ลำไยพืชผักและผลไม้ต่างๆใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักฤดูการเกษตร มีระยะเวลา ๗ – ๙ เดือนการผลิตส่วนใหญ่เพื่อบริโภคที่เหลือ
ก็นำจำหน่ายผลผลิตส่วนใหญ่เกษตรกรจะขายให้แก่พ่อค้าที่เข้ามารับชื้อภายในท้องที่ หรือนำไปขายในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่

ด้านสาธารณสุข

การให้บริการด้านสาธารณสุขโดยมีสถานบริการ  ดังนี้

สาธารณสุขอำเภอ                                      จำนวน  ๑ แห่ง

โรงพยาบาลขนาด ๓๐  เตียง                         จำนวน  ๑ แห่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล (ทั่วไป)      จำนวน  ๕ แห่ง

ด้านการอุตสาหกรรม  

ส่วนมากเป็นการอุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้แก่

โรงสีข้าวขนาดกลาง                   จำนวน   ๑  โรง

โรงสีข้าวขนาดเล็ก                     จำนวน  ๒๖ โรง

โรงบ่มใบยา                            จำนวน   ๒  แห่ง        

ด้านการธนาคารและสหกรณ์

ธนาคารพาณิชย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน)               จำนวน  ๑  แห่ง

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)                        จำนวน  ๑  แห่ง

สหกรณ์การเกษตร                                                       จำนวน  ๑  แห่ง

ด้านการศึกษา

การศึกษาในระบบโรงเรียน มีโรงเรียนประถมศึกษาเกือบทุกหมู่บ้านนอกนั้นเป็นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มี กศน.ตำบล ประจำตำบลทุกตำบลในสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงม่วน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยาเด็กในพื้นที่อำเภอเชียงม่วนที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ยังไม่ได้ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาครบทุกคนเนื่องจากฐานะผู้ปกครองยากจนมีการจัดการศึกษา ดังนี้

สถานศึกษาในเขตอำเภอเชียงม่วนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 2

๑. โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา                     จำนวน   ๑  โรงเรียน

๒. โรงเรียนระดับประถมศึกษา                      จำนวน ๑๔  โรงเรียน

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา

๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงม่วน จำนวน ๑แห่งประกอบด้วย

ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงม่วน      จำนวน  ๑  แห่ง

กศน.ตำบล                                    จำนวน  ๓  แห่ง