ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา










โบราณสถานวัดบ้านท่าฟ้าใต้

      ที่อยู่ หมู่ 11 บ้านฟ้าสีทอง บน ถนนสายปง-เชียงม่วน ตำบล/แขวงสระ อำเภอ/เขตเชียงม่วน หมู่ 11  ต.สระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา 56160

     รายละเอียด  เป็นวัดที่สร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามมาก วิหารมีรูปแบบศิลปะไทลื้อ ก่ออิฐถือปูน หลังคามุง          แป้นเกล็ดซ้อนกัน ๓ ชั้น หน้าบัน เป็นลายเครือเถาแบบไทลื้อที่ประยุกต์ลายมาจากธรรมชาติ มีลายดอกไม้บานอยู่ตรงกลาง ประดับด้วยกระจกเงา โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนความชั่วร้ายมิให้มาทำร้ายกล้ำกรายได้ ใบระกาเป็นไม้สัก แกะสลักเป็นรูปพญานาค เชิงชายฉลุลายน้ำหยด เอกลักษณ์ของไทลื้อ

    ลักษณะเด่น                                                                                                                                                   - พระประธานปางมารวิชัยทำจากไม้ประดู่
   - ตู้พระธรรม และ ธรรมมาสชาวไทยลื้อ
   - สถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อ
   - กิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

    ประวัติความเป็นมา                                                                                                                                          เป็นวัดที่สร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามมาก วิหารมีรูปแบบศิลปะไทลื้อ ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงแป้นเกล็ดซ้อนกัน 3 ชั้น หน้าบัน เป็นลายเครือเถาแบบไทลื้อที่ประยุกต์ลายมาจากธรรมชาติ มีลายดอกไม้บานอยู่ตรงกลาง ประดับด้วยกระจกเงา โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนความชั่วร้ายมิให้มาทำร้ายกล้ำกรายได้ ใบระกาเป็นไม้สัก แกะสลักเป็นรูปพญานาค เชิงชายฉลุลายน้ำหยด เอกลักษณ์ของไทลื้อ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาแกะสลักจากไม้ประดู่ หน้าตักกว้าง 112.5 ซม. สูง 227.50 ซม.ฐานชุกชีเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ตกแต่งด้วยลายเครือเถา และประดับกระจกสีเขียว อันหมายถึงนกยูงซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของแคว้นสิบสองปันนา ภายในวิหารมีตุงหลากสีที่แขวนอยู่ ชาวไทลื้อนิยมถวายตุงเพราะเชื่อว่า ผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วจะได้เกาะชายตุงขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ประวัติความเป็นมา สัณนิษฐานว่า ชาวไทลื้อที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาเป็น      ผู้สร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามยิ่ง เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2524