การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่ปลอดภัย
เนื้อสัตว์ การเลือก เนื้อหมู เนื้อวัว จะต้องมีสีแดงตามธรรมชาติไม่ช้ำ เลือด ไม่มีกลิ่นเหม็นบูดที่สำคัญ จะต้องไม่มีเม็ดสาคู(ตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด) ในเนื้อหมูเนื้อวัวและควรเลือกซื้อจากแหล่งที่มีสัตวแพทย์รับรอง โดยสังเกตจากตราประทับบนหนังสัตว์ที่ชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ปัญหาที่มักพบ ได้เสมอ คือ การฆ่าวัว กระบือ แล้วนำ มาชำแหละขายกันเองในหมู่บ้าน หรือนำสัตว์ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ มาชำแหละขาย ผู้บริโภคจึงมีโอกาสได้รับเชื้อจากโรคติดต่อ เช่น โรคแอนแทรกซ์ เป็ด ไก่ ควรมีเนื้อแน่นสะอาด ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน โดยเฉพาะบริเวณใต้ปีก ใต้ขา ลำคอ และส่วนบนของก้น บริเวณปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ ปลา ต้องมีเหงือกสีแดงสด ไม่เขียวคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใส ไม่ช้ำ เลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา เนื้อต้องแน่น กดไม่เป็นรอยบุ๋มอยู่นาน กุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นคาวเหม็นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย คืบและหางต้องเป็นมันสดใส และ หัวกุ้งต้องติดแน่นไม่หลุดออก หอยต้องสดฝาหรือเปลือกควรปิดสนิท ไม่เปิดอ้า ไม่มีกลิ่นเหม็น เนื้อหอยควรมีสีตามธรรมชาติ ไม่ซีดจาง
การเลือกซื้อผัก และผลไม้ ปลอดสารพิษ
- เลือกซื้อผักสดที่สะอาด ไม่มีคราบดิน หรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือเชื้อราตามใบ ซอกใบ หรือก้านผัก ไม่มีสีขาวหรือกลิ่นฉุนผิดปกติ
- เลือกซื้อผักสดที่มีรูพรุนเป็นรอยกัดแทะของหนอนแมลงอยู่บ้าง ไม่ควรเลือกซื้อผักที่มีใบสวยงาม เพราะหนอนกัดเจาะผักได้แสดงว่ามีสารพิษกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายมาก
- เลือกซื้อผักสดอนามัยหรือผักกางมุ้ง ตามโครงการพิเศษของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์หรือแหล่งปลูกที่เชื่อถือได้อื่นๆ เช่น เลมอนกรีน เป็นต้น และสับเปลี่ยนแหล่งซื้ออยู่เสมอ
- เลือกกินผักตามฤดูกาลเนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำ ให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง
- เลือกกินผักพื้นบ้าน เช่น ผักแว่น ผักหวาน ผักติ้วผักกระโดน ใบย่านาง ใบเหลียง ใบยอผักกระถิน ยอดแค หรือผักที่สามารถปลูกได้เองง่ายๆ
- ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการ รับพิษสะสม และได้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข